หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล โพธิ์ประทับช้าง ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
หน้าหลัก
Home
ข้อมูลหน่วยงาน
About us
บุคลากร
Staff
การบริหารบุคคล
Personnel
ข่าวสาร
News
แผน
Planning
รายงาน
Report
ระเบียบ
Rules
บริการประชาชน
Service
 
   
 
องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ประทับช้าง ยินดีให้บริการ ^_^ สอบถามข้อมูล Call Center 056-030-166 ขอบคุณค่ะ
 


 
การทำปุ๋ยหมักปริมาณมากแบบไม่พลิกกลับกอง  
 

ขั้นตอนวิธีการทำปุ๋ยหมักปริมาณมากแบบไม่พลิกกลับกอง วิศวกรรมแม่โจ้ 1 นะครับ

1. ถ้าเป็นฟาง เปลือกทุเรียน เศษข้าวโพด หรือหญ้า ให้ตวงในเข่ง ขึ้นเหยียบเข่งให้แน่น 4 เข่ง (ถ้าเป็นใบไม้ หรือทะลายปาล์ม ใช้ 3 เข่ง ...... ต้นกล้วยหั่น หรือผักตบ 6 ต่อ 1)

2. นำไปวางหนา 5-10 ซม.บนพื้นดิน ฐานกว้าง 1.5-2.5 ม. วางเบา ๆ โดยห้ามขึ้นเหยียบบนกอง ใช้คราดเหล็กช่วยเกลี่ย .... การขึ้นเหยียบบนกองจะทำให้กองแน่นเกินไป อากาศจะเข้าไม่ได้ จุลินทรีย์จะไม่ได้รับออกซิเจน การย่อยสลายจะเกิดไม่ได้ครับ ..... ถ้าเป็นทะลายปาล์มใช้ความกว้างกอง 1.5 ม. ครับ

วิธีทำปุ๋ยหมักแบบอื่นเขาให้ขึ้นเหยียบกองได้เพราะเขาต้องมีการพลิกกลับกองครับ .... เป็นพวกขยัน แรงเยอะ ..... แต่ของเราไม่มีการพลิกกอง ..... พวกเราขี้เกียจและสุขุมกว่าครับ

3. ต่อความยาวกอง โดยทำข้อ 1 และ 2 ซ้ำ จนกว่าจะได้ความยาวกองปุ๋ยที่ต้องการ ....... ใครทำแบบกะด้วยสายตา ไม่ยอมตวงด้วยเข่ง หรือคำนวณด้วยน้ำหนักก็จะผิดวิธีครับ

4. โรยทับด้วยมูลสัตว์ให้ทั่ว ในสัดส่วนฟาง 4 เข่งต่อมูลสัตว์ 1 เข่ง (ใบไม้ 3 ต่อ 1 ...... ต้นกล้วยหั่น หรือผักตบ 6 ต่อ 1) ..... แล้วรดน้ำ ..... เข่งใช้ขนาดเดียวกับที่ตวงเศษพืชครับ ...... ใช้คราดเหล็กเขี่ย ๆ ช่วยกระจายมูลสัตว์ เขี่ยให้น้ำซึมลงได้ และปรับระดับกองให้เรียบ ..... มูลสัตว์ใช้อะไรก็ได้ครับ ขี้วัว ขี้หมู ขี้ไก่ ขี้ไก่แกลบ ขี้ช้าง

ใครไม่มีเข่ง ก็ใช้ถัง หรือใช้ถุงก็ได้ครับ เช่น ฟาง 4 ถุงอัดแน่น ๆ ต่อมูลสัตว์ 1 ถุงเต็ม ๆ ..... ถุงก็ต้องเป็นถุงขนาดเดียวกันด้วยนะครับ

5. ทำชั้นที่สอง สาม สี่ ซ้ำข้างต้น ให้สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ .... ย้ำครับ ให้ความหนาของชั้นเศษพืชแต่ละชั้นคือประมาณ 5-10 ซม. ..... ส่วนมูลสัตว์ไม่มีความหนาเพราะมันจะแทรกเข้าไปในชั้นเศษพืช ....... #รดน้ำทุกชั้น ........ เมื่อขึ้นชั้นสูงขึ้นไป มันจะเริ่มบีบเป็นสามเหลี่ยม เราก็ต้องลดจำนวนเศษพืช และลดจำนวนมูลสัตว์ลงตามสัดส่วน เพื่อให้แต่ละชั้นหนาแค่ 5-10 ซม.เท่าเดิมครับ

6. ในแต่ละชั้นใช้คราดเหล็กค่อย ๆ ปรับแต่งให้กองปุ๋ยเป็นรูปสามเหลี่ยม มีความสูงรวม 1.5 ม. ชั้นบนสุดเป็นมูลสัตว์ .... จำนวนชั้นตามปกติก็ 15-17 ชั้นครับ .... จำนวนชั้นมากกว่านี้เป็น 25 ชั้นก็ไม่เป็นปัญหาครับ .... จะทำหลายวันเสร็จก็ได้ ถ้าทำเสร็จภายใน 10 วันก็นับวันที่ 1 เป็นวันแรกแล้วบวกไป 60 วัน .... ถ้าทำเสร็จหลังวันที่ 10 ก็ให้วันที่หยุดเติมเป็นวันที่ 1 แล้วบวกไปอีก 50 วัน

ขั้นตอนการวางเศษพืช 5-10 ซม. ทับด้วยมูลสัตว์นี้ ใครขยันอยากพลิกผสมเศษพืชกับมูลสัตว์เข้าด้วยกันทั้งหมดก่อนก็ได้ครับ รดน้ำ แล้วเอาวางให้เป็นสามเหลี่ยมได้เลย ...... แต่คงหาคนแรงเยอะแบบนี้ได้ยากนะครับ อิอิ

7. ภายในเวลา 2 เดือน ให้ดูแลน้ำ 3 ขั้นตอนดังนี้

7.1 รดน้ำวันละครั้ง ..... อย่าให้น้ำไหลนองออกมามากเกินไป

7.2 ทุก 7-10 วัน เอาไม้หรือเหล็กแหลมเจาะกองปุ๋ยถึงพื้นดิน รอบกอง ระยะห่างแต่ละรู 40 ซม. กรอกน้ำลงไป เสร็จแล้วปิดรู ..... อย่าให้มีน้ำไหลนองออกมามากเกินไป

7.3 ทุก 20 วัน เอาจอบมาสุ่มตรวจหาบริเวณข้างในกองที่อาจแห้ง 1-2 จุด โดยสับกองลงไปลึกถึงพื้น ...... ถ้ามีจุดใดแห้ง ก็ให้กรอกน้ำลงไปเพิ่ม แล้วเจาะกองกรอกน้ำใหม่ทั้งหมด ..... ข้อนี้สำคัญที่สุดครับ ..... คอยสุ่มตรวจสอบแบบนี้ทุก 20 วันนะครับ

สาเหตุที่ให้ใช้จอบสับลึก ๆ เพราะในกองปุ๋ยอาจมีพวกตะขาบ แมงป่อง และงู มาขออาศัยด้วย ..... ใช้มือล้วง กลัวตะขาบงูจะตกใจอ่ะครับ

8. พอครบสองเดือน งดน้ำ ทำให้ปุ๋ยหมักแห้ง เพื่อให้จุลินทรีย์ที่กำลังย่อยเศษพืชเก่งสงบตัว ไม่ไปกัดกินรากพืชของเรา ..... โดยการล้มกอง แผ่ออก ทิ้งให้แห้ง แล้วค่อยเก็บใส่กระสอบ หรือนำไปใช้ ..... การนำไปทำให้แห้งในร่มเป็นวิธีที่ดีที่สุด ...... แต่ถ้ามีปริมาณมากจนขนไม่ไหว ก็แผ่ตากแดดได้เลย ค่าไนโตรเจนอาจสูญเสียบ้างจิ๊กนึงเท่านั้นครับ .... แห้งมีความชื้นสัก 20-30% ก็เก็บเข้ากระสอบได้ครับ ตรวจได้โดยบีบปุ๋ยในมือ พอแบมือออกปุ๋ยก็จะแตกออกเป็นส่วนใหญ่ มีเป็นก้อนบ้าง

ครบ 2 เดือนแล้ว ใครอยากจะทิ้งกองต่อไปอีก ก็ไม่ต้องรดน้ำ ปุ๋ยหมักก็จะเล็กละเอียดจะสวยยิ่งขึ้นครับ ...... ครบกำหนดแล้วถ้ากลัวโดนฝนชะ ก็หาผ้ามาคลุมได้

9. เมื่อปุ่ยหมักแห้ง .... ใบไม้ส่วนที่คิดว่าไม่เปื่อยก็จะแตกกรอบลงไปอีก ให้แยกส่วนที่ไม่เปื่อยจริง ๆ ออกแล้วเอาไปรวมทำกองปุ๋ยกองใหม่ ..... ส่วนปุ๋ยหมักก็นำใส่กระสอบ เก็บในที่ร่ม

การเจาะกองปุ๋ยเพื่อให้น้ำภายในกองปุ๋ยเป็นสิ่งที่หลายท่านละเลย ส่งผลให้เศษพืชไม่ถูกย่อยสลาย เพราะมักจะคิดว่าการรดน้ำประจำวัน หรือการที่มีฝนตก จะทำให้มีน้ำไหลซึมเข้าไปในกองปุ๋ยได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดครับ วัสดุเช่นนี้จะชอบยึดน้ำไว้ที่ตัวมันเองและจะไม่ยอมให้น้ำไหลซึมลงด้านล่างตามแนวดิ่ง ...... คล้าย ๆ กับกองฟางที่ตากฝนในนา ซึ่งภายในจะแห้งสนิท กองฟางจึงไม่เคยเปื่อยเป็นปุ๋ยเลยไม่ว่าจะทิ้งไว้กี่ปี

ปริมาณน้ำในข้อ 7.1 7.2 เมื่อให้น้ำเสร็จแล้ว อย่าให้มีน้ำเจิ่งนองที่พื้นมากเกินไป เพราะเป็นน้ำที่ชะเอาไนโตรเจนออกมา .... ถ้ามีน้ำซึมออกมา ก็ให้ทำร่องดักน้ำ เอาน้ำนี้ไปรดกลับกองปุ๋ย หรือเอาไปรดต้นไม้ ..... แต่ต้องระวัง อย่ารดต้นไม้บ่อยหรือรดมาก เพราะน้ำนี้แรงพอ ๆ กับน้ำละลายปุ๋ยยูเรียเลย

ใครอยากได้ปุ๋ยหมักแห้งแล้วประมาณ 1 ตัน ความชื้น 20-30% ให้ทำกองยาว 4 เมตร .... ปกติ กองยาว 4 เมตรจะใช้มูลสัตว์ (แห้งหรือสดก็ได้) 360 กก. เศษพืชประมาณ 1,000 กก.ครับ .... ถ้าซื้อมูลสัตว์ได้ กก.ละ 2 บาท ก็เท่ากับเป็นต้นทุนมูลสัตว์ 720 บาท ...... ปุ๋ยหมักขายกันตันละถึง 7,000-10,000 บาทครับ ..... มูลสัตว์ใช้อะไรก็ได้ครับ เพราะเราต้องการแค่จุลินทรีย์กับไนโตรเจนในมูลสัตว์เท่านั้น

เศษพืชก็ให้มองหาโอกาสอยู่เสมอ พยายามให้เป็นของฟรี หรือราคาต่ำที่สุด ไม่ว่าจะเป็นฟาง ใบไม้ ผักตบ หญ้า เศษผักในตลาด เปลือกผลไม้ เศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ..... ลองจีบ เทศบาล หรือ อบต. ดู เขาอาจให้งบมาก็ได้ หรือขนใบไม้มาให้ตลอดปีก็ได้ .... บอกไปเลยว่าจะทำศูนย์เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักไม่พลิกกลับกองของชุมชน (ตามวิธีของมหาวิทยาลัยแม่โจ้) เพื่อลดต้นทุนตามนโยบายของรัฐบาล ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ลดการเผา และมีแผนจะขยายเป็นศูนย์เรียนรู้การปลูกผักอินทรีย์ ข้าวอินทรีย์ในชุมชน ..... แค่นี้ก็ฟินแล้วครับ

ข้อห้ามของการทำปุ๋ยวิธีนี้คือห้ามขึ้นเหยียบ ห้ามเอาผ้าคลุม เพราะจะทำให้อากาศไหลเวียนเข้าไปในกองปุ๋ยไม่ได้ ... ห้ามทำชั้นเศษพืชหนาเกินไปเพราะจุลินทรีย์จะเข้าไปย่อยสลายไม่ได้ ..... ห้ามใส่กากน้ำตาล เพราะกองปุ๋ยหมักแบบนี้ย่อยกากน้ำตาลไม่ได้ อาจทำให้เกิดเชื้อราในแปลงปลูกได้ครับ

การทำกองปุ๋ยแบบนี้ควรทำห่างทรงพุ่มของต้นไม้ ไม่ควรอยู่ใต้ต้นไม้หรือใกล้มากเกินไป เพราะต้นไม้สุดหวงอาจตายได้จากน้ำไนโตรเจนที่ไหลไปหาและความร้อนของกองปุ๋ยครับ

ความร้อนในกองปุ๋ยเกิดจากการคายพลังงานออกมาจากผลการย่อยสลายของน้องจุลครับ ...... ถ้าเราทำกองสูงเป็นเมตร เราก็จะสะสมความร้อนอันนี้ไว้ได้ พอความร้อนคิดจะลอยตัวออกจากกองปุ๋ย ก็จะมีอากาศภายนอกที่เย็นกว่าไหลเข้ามาแทนที่ น้องจุลเลยได้ออกซิเจนตลอดเวลาโดยที่เราไม่ต้องไปพลิกกองแบบวิธีอื่นเลยครับ ..... เป็นหลักการทางวิศวกรรมครับ ที่เรียกว่าการพาความร้อนครับ

สำหรับการทำปุ๋ยหมักในวงตาข่าย เข่ง หรือตะกร้าผ้า ก็เป็นการย่อส่วนการทำปุ๋ยหมักข้างบนนี้ลงในวงตาข่าย มีขั้นตอนทุกอย่างเหมือนกันครับ

ขอเน้นว่า วิธีทำปุ๋ยหมักของจารย์ลุงไม่เหมือนของใคร การนำวิธีอื่นมาผสมจะทำให้ไม่ได้ปุ๋ยหมักนะครับ ...... อะไรที่ไม่บอกให้ใส่ก็ไม่ต้องใส่ จารย์ลุงบอกให้ตวงก็ต้องตวง จารย์ลุงไม่ได้บอกให้ใส่กากน้ำตาลก็ไม่ต้องใส่ ...... อย่างนี้เป็นต้นนะครับ

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติปี 2549 รางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติปี 2558 มาสอนถึงในห้องนอนแว้ว รีบลงมือทำกันให้เยอะ ๆ

 

ข่าว ณ. วันที่ 22 ม.ค. 2564 เวลา 13.09 น. โดย คุณ สมนรินทร์ จันทร์จาด

ผู้เข้าชม 222 ท่าน

 
 
 
 
 
 
รับเรื่องราวร้องเรียน
โทร : 095-635-7446